< กลับ  

⁘ บทสวดทําวัตรเช้า ⁘

เสียงสวด - พระอาจารย์เอกราช เขมานนฺโท
‣ ที่มา : (Youtube) หนึ่งฤทัย บุญวงษ์

คำบูชาพระรัตนตรัย
⁕ โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
' พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลส, เพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้ โดยพระองค์เอง,
⁕ ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม
' พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว,
⁕ สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
' พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด , ปฏิบัติดีแล้ว,
⁕ ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง, อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ
' ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น, พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์, ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้, อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร,
⁕ สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ
' ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ ปรินิพพานนานแล้ว, ทรงสร้างคุณอันสําเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย,
⁕ ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา
' ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้า,อันเป็นชนรุ่นหลัง,
⁕ อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ
' ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงรับเครื่อง สักการะ, อันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้,
⁕ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ.
' เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ตลอดกาล นาน เทอญฯ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
' พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลส เพลิง ทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
' ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน,
(กราบ)

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
' พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว,
ธัมมัง นะมัสสามิ
' ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม,
(กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
' พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว,
สังฆัง นะมามิ
' ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์
(กราบ)

ปุพพะภาคะนะมะการะ
⁕ (หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)
' (เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความนอบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด)
⁕ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
' ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระองค์นั้น,
⁕ อะระหะโต
' ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,
⁕ สัมมาสัมพุทธัสสะ
' ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
(ว่า ๓ จบ)

พุทธาภิถุติ
⁕ (หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส)
' (เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด)
⁕ โย โส ตะถาคะโต
' พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด,
⁕ อะระหัง
' เป็นผู้ไกลจากกิเลส,
⁕ สัมมาสัมพุทโธ
' เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
⁕ วิชชาจะระณะสัมปันโน
' เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ,
⁕ สุคะโต
' เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี,
⁕ โลกะวิทู
' เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,
⁕ อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
' เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึก ได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า,
⁕ สัตถา เทวะมะนุสสานัง
' เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
⁕ พุทโธ
' เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม,
⁕ ภะคะวา
' เป็นผู้มีความจําเริญ จําแนกธรรมสั่งสอนสัตว์,
⁕ โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพ๎รัห๎มะกัง, สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิง ปะชังสะเทวะ มะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตะวา ปะเวเทสิ
' พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด,ได้ทรงทําความดับทุกข์ ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว, ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา,มาร พรหม, และหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณะพราหมณ์, พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม,
⁕ โย ธัมมัง เทเสสิ
' พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด,ทรงแสดงธรรมแล้ว ,
⁕ อาทิกัลยาณัง
' ไพเราะในเบื้องต้น,
⁕ มัชเฌกัลยาณัง
' ไพเราะในท่ามกลาง,
⁕ ปะริโยสานะกัลยาณัง
' ไพเราะในที่สุด,
⁕ สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พ๎รัห๎มะจะริยัง ปะกาเสสิ
' ทรงประกาศ พรหมจรรย์, คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ,บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง,พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ
⁕ ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
' ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง, เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
⁕ ตะมะหัง ภะคะวันตัง
' ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า
⁕ สิระสา นะมามิ
' พระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า.

(กราบระลึกพระธรรมคุณ)

ธัมมาภิถุต
⁕ (หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส)
' (เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะพระธรรมเถิด)
⁕ โย โส ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
' พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ได้ตรัสไว้ ดีแล้ว,
⁕ สันทิฏฐิโก
' เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง,
⁕ อะกาลิโก
' เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จํากัดกาล,
⁕ เอหิปัสสิโก
' เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า, ท่านจงมาดูเถิด,
⁕ โอปะนะยิโก
' เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว,
⁕ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ
' เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน,
⁕ ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
' ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่งเฉพาะพระธรรมนั้น,
⁕ ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ
' ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น, ด้วยเศียรเกล้า.

(กราบระลึกพระธรรมคุณ)

สังฆาภิถุต
⁕ (หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส)
' (เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะพระสงฆ์เถิด)
⁕ โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
' สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว,
⁕ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
' สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว,
⁕ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
' สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติ เพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว,
⁕ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
' สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว
⁕ ยะทิทัง
' ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ,
⁕ จัตตาริ ปุริสะยุคานิ
' คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่,
⁕ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
' นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ,
⁕ เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
' นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,
⁕ อาหุเนยโย
' เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานํามาบูชา,
⁕ ปาหุเนยโย
' เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ,
⁕ ทักขิเณยโย
' เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน,
⁕ อัญชะลีกะระณีโย
' เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทําอัญชลี,
⁕ อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ
' เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า,
⁕ ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ
' ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น.
⁕ ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ
' ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น, ด้วยเศียรเกล้า.

(กราบระลึกพระสังฆคุณ)

ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถา
⁕ (หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส)
' (เชิญเถิด เราทั้งหลาย กล่าวคำนอบน้อมพระรัตนตรัยและบาลีที่กำหนดวัตถุเครื่องแสดงความสังเวชเถิด)
⁕ พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว
' พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ,
⁕ โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน
' พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด,
⁕ โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก
' เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก,
⁕ วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
' ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,
⁕ ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน
' พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป,
⁕ โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก
' จําแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน, ส่วนใด,
⁕ โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน
' ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น,
⁕ วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
' ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,
⁕ สังโฆ สุเขตตาภยะติเขตตะสัญญิโต
' พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย,
⁕ โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก
' เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคต, หมู่ใด,
⁕ โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส
' เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล, เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี,
⁕ วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
' ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น, โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,
⁕ อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสัทธิยา
' บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม, คือพระ รัตนตรัย อันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว, ได้กระทําแล้ว เป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้, ขออุปัททวะ(ความชั่ว) ทั้งหลาย, จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย, ด้วยอํานาจความสําเร็จ อันเกิดจากบุญนั้น.

สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐะ
⁕ อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน
' พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้,
⁕ อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
' เป็นผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
⁕ ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก
' และพระธรรมที่ทรงแสดง, เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์,
⁕ อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก
' เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน,
⁕ สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต
' เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ,
⁕ มะยันตัง ธัมมัง สุตะวา เอวัง ชานามะ
' พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า,
⁕ ชาติปิ ทุกขา
' แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์,
⁕ ชะราปิ ทุกขา
' แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์,
⁕ มะระณัมปิ ทุกขัง
' แม้ความตายก็เป็นทุกข์,
⁕ โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา
' แม้ความโศก ความร่ําไรรําพัน, ความไม่สบาย กาย ความไม่สบายใจ, ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์,
⁕ อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
' ความประสพกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์,
⁕ ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
' ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์,
⁕ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
' มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์,
⁕ สังขิตเตนะปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
' ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์,
⁕ เสยยะถีทัง
' ได้แก่ สิ่งเหล่านี้ คือ,
⁕ รูปูปาทานักขันโธ
' ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป,
⁕ เวทะนูปาทานักขันโธ
' ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา,
⁕ สัญญูปาทานักขันโธ
' ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา,
⁕ สังขารูปาทานักขันโธ
' ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร,
⁕ วิญญาณูปาทานักขันโธ
' ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ,
⁕ เยสัง ปะริญญายะ
' เพื่อให้สาวกกําหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์ เหล่านี้เอง,
⁕ ธะระมาโน โส ภะคะวา
' จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,
⁕ เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ
' ย่อมทรงแนะนําสาวกทั้งหลาย, เช่นนี้ เป็นส่วนมาก,
⁕ เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ
' อนึ่ง คําสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ย่อมเป็นไป ในสาวกทั้งหลาย, ส่วนมาก, มีส่วนคือการจําแนกอย่างนี้ว่า,
⁕ รูปัง อะนิจจัง
' รูปไม่เที่ยง,

⁕ เวทะนา อะนิจจา
' เวทนาไม่เที่ยง,

⁕ สัญญา อะนิจจา
' สัญญาไม่เที่ยง,

⁕ สังขารา อะนิจจา
' สังขารไม่เที่ยง,

⁕ วิญญาณัง อะนิจจัง
' วิญญาณไม่เที่ยง,

⁕ รูปัง อะนัตตา
' รูปไม่ใช่ตัวตน,

⁕ เวทะนา อะนัตตา
' เวทนาไม่ใช่ตัวตน,

⁕ สัญญา อะนัตตา
' สัญญาไม่ใช่ตัวตน,

⁕ สังขารา อะนัตตา
' สังขารไม่ใช่ตัวตน,

⁕ วิญญาณัง อะนัตตา
' วิญญาณไม่ใช่ตัวตน

⁕ สัพเพ สังขารา อะนิจจา
' สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
⁕ สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ
' ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้,
⁕ เต (ตา-ผู้หญิงกล่าว)* มะยัง โอติณณามะหะ
' พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงําแล้ว
⁕ ชาติยา
' โดยความเกิด
⁕ ชะรามะระเณนะ
' โดยความแก่ และความตาย
⁕ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ
' โดยความโศก ความร่ําไรรําพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย,
⁕ ทุกโขติณณา
' เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเองแล้ว,
⁕ ทุกขะปะเรตา
' เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว,
⁕ อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ
' ทําไฉน การทํา ที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้, จะพึงปรากฎชัดแก่เราได้.

(สําหรับอุบาสกอุบาสิกาสวด)
⁕ จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวะตัง สะระณัง คะตา
' เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า, แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้นเป็นสรณะ
⁕ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ
' ถึงพระธรรมด้วย, ถึงพระสงฆ์ด้วย,
⁕ ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ, อะนุปะฏิปัชชามะ
' จักทําใน ใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่, ซึ่งคําสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกําลัง,
⁕ สา สา โน ปะฏิปัตติ
' ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย
⁕ อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ
' จงเป็นไปเพื่อการทําที่สุดแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้เทอญ.

คำแผ่เมตตา
⁕ (หันทะ มะยัง เมตตาผะระณัง กะโรมะ เส)
⁕ อะหัง สุขิโต โหมิ

' ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ถึงสุข

⁕ นิททุกโข โหมิ

' จงเป็นผู้ไร้ทุกข์

⁕ อะเวโร โหมิ

' จงเป็นผู้ไม่มีเวร

⁕ อัพ๎ยาปัชโฌ โหมิ

' จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน

⁕ อะนีโฆ โหมิ

' จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์

⁕ สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ

' จงรักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด

⁕ สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ

' ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ถึงความสุข

⁕ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ

' ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร

⁕ สัพเพ สัตตา อัพ๎ยาปัชฌา โหนตุ

' ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงอย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน

⁕ สัพเพ สัตตา อะนีฆา โหนตุ

' ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีทุกข์

⁕ สัพเพ สัตตา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

' ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงรักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด

⁕ สัพเพ สัตตา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ

' ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงพ้นจากทุกข์ทั้งมวล

⁕ สัพเพ สัตตา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ

' ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงอย่าได้พรากจากสมบัติอันตนได้แล้ว

⁕ สัพเพ สัตตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ กัมมะปะฏิสะระณา

' สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีกรรมเป็นของของตน , มีกรรมเป็นผู้ให้ผล , มีกรรมเป็นแดนเกิด , มีกรรมเป็นผู้ติดตาม , มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

⁕ ยัง กัมมัง กะริสสันติ , กัล๎ยาณัง วา ปาปะกัง วา , ตัสสะ ทายาทา ภาวิสสันติ

' จักทำกรรมอันใดไว้ , เป็นบุญหรือบาป , จักต้องเป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้นๆ สืบไป


สัพพปัตติทานคาถา
⁕ (หันทะ มะยัง สัพพะปัตติทานะคาถาโย ภะณามะ เส)
⁕ ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ ยานัญญานิ กะตานิ เม,เตสัญจะ ภาคิโน โหนตุ สัตตานันตาปปะมาณะกา

' สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ, จงมีส่วนแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำในบัดนี้,และแห่งบุญอื่นที่ได้ทำไว้ก่อนแล้ว

⁕ เย ปิยา คุณะวันตา จะ มัยหัง มาตาปิตาทะโย,ทิฏฐา เม จาป๎ยะทิฏฐา วา อัญเญ มัชฌัตตะเวริโน

' คือจะเป็นสัตว์เหล่าใด, ซึ่งเป็นที่รักใคร่และมีบุญคุณ, เช่นมารดาบิดาของข้าพเจ้าเป็นต้น ก็ดี ที่ข้าพเจ้าเห็นแล้วหรือไม่ได้เห็นก็ดี, สัตว์เหล่าอื่นที่เป็นกลางๆหรือเป็นคู่เวรกัน ก็ดี

⁕ สัตตา ติฏฐันติ โลกัส๎มิง เตภุมมา จะตุโยนิกา,ปัญเจกะจะตุโวการา สังสะรันตา ภะวาภะเว

' สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ในโลก, อยู่ในภูมิทั้งสาม, อยู่ในกำเนิดทั้งสี่, มีขันธ์ห้าขันธ์ มีขันธ์ขันธ์เดียว มีขันธ์สี่ขันธ์, กำลังท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อย ภพใหญ่ ก็ดี

⁕ ญาตัง เย ปัตติทานัมเม อะนุโมทันตุ เต สะยัง,เย จิมัง นัปปะชานันติ เทวา เตสัง นิเวทะยุง,

' สัตว์เหล่าใด รู้ส่วนบุญที่ข้าพเจ้าแผ่ให้แล้ว, สัตว์เหล่านั้นจงอนุโมทนาเองเถิด,ส่วนสัตว์เหล่าใดยังไม่รู้ส่วนบุญนี้, ขอเทวดาทั้งหลาย, จงบอกสัตว์เหล่านั้นให้รู้

⁕ มะยา ทินนานะ ปุญญานัง อะนุโมทะนะเหตุนา,สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน เขมัปปะทัญจะ ปัปโปนตุ เตสาสา สิชฌะตัง สุภา

' เพราะเหตุที่ได้อนุโมทนาส่วนบุญที่ข้าพเจ้าแผ่ให้แล้ว,สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง, จงเป็นผู้ไม่มีเวร, อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ, จงถึงบทอันเกษม,กล่าวคือพระนิพพาน, ความปรารถนาที่ดีงามของสัตว์เหล่านั้นจงสำเร็จเถิด


ปัตติทานะคาถา
(บทนี้ไม่มีในเสียงสวด)
⁕ (หันทะ มะยัง ปัตติทานะคาถาโย ภะณามะ เส)
⁕ ยา เทวะตา สันติ วิหาระวาสินี , ถูเป ฆะเร โพธิฆะเร ตะหิง ตะหิง

' เทพยดาทั้งหลายเหล่าใด มีปกติอยู่ในวิหาร สิงสถิตที่เรือนพระสถูป ที่เรือนโพธิ ในที่นั้น ๆ

⁕ ตา ธัมมะทาเนนะ ภะวันตุ ปูชิตา โสตถิง กะโรนเตธะ วิหาระมัณฑะเล

' เทพยดาทั้งหลายเหล่านั้น , เป็นผู้อันเราทั้งหลายบูชาแล้วด้วยธรรมทาน , ขอจงทำซึ่งความสวัสดี ความเจริญในมณฑลวิหารนี้

⁕ เถรา จะ มัชฌา นะวะกา จะ ภิกขะโว สารามิกา ทานะปะตี อุปาสะกา

' พระภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระก็ดี ที่เป็นปานกลางก็ดี ที่เป็นผู้บวชใหม่ก็ดี อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายที่เป็นทานาธิบดีก็ดี , พร้อมด้วยอารามิกชนก็ดี

⁕ คามา จะ เทสา นิคะมา จะ อิสสะรา สัปปาณะภูตา สุขิตา ภะวันตุ เต

' ชนทั้งหลายเหล่าใด ที่เป็นชาวบ้านก็ดี , ที่เป็นชาวต่างประเทศก็ดี , ที่เป็นชาวนิคมก็ดี , ที่เป็นอิสระเป็นใหญ่ก็ดี , ขอชนทั้งหลายเหล่านั้นจงเป็นผู้มีสุขเถิด

⁕ ชะลาพุชา เยปิ จะ อัณฑะสัมภะวา สังเสทะชาตา อะถะโวปะปาติกา

' สัตว์ทั้งหลายที่เป็นชลาพุชะกำเนิดก็ดี , ที่เป็นอัณฑชะกำเนิดก็ดี , ที่เป็นสังเสทะชะกำเนิดก็ดี , ที่เป็นอุปะปาติกะกำเนิดก็ดี

⁕ นิยยานิกัง ธัมมะวะรัง ปะฏิจจะ เต สัพเพปิ ทุกขัสสะ กะโรนตุ สังขะยัง

' สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นได้อาศัยซึ่งธรรมอันประเสริฐ , เป็นนิยานิกธรรม , ประกอบในอันนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากสังสารทุกข์ , จงกระทำซึ่งความสิ้นไปพร้อมแห่งทุกข์เถิด

⁕ ฐาตุจิรัง สะตัง ธัมโม ธัมมัทธะรา จะ ปุคคะลา

' ขอธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายจงตั้งอยู่นาน , ขอบุคคลทั้งหลายผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม จงดำรงอยู่นาน

⁕ สังโฆ โหตุ สะมัคโค วะ อัตถายะ จะ หิตายะ จะ

' ขอพระสงฆ์จงมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน , ในอันทำซึ่งประโยชน์ และสิ่งอันเกื้อกูลเถิด

⁕ อัมเห รักขะตุ สัทธัมโม สัพเพปิ ธัมมะจาริโน

' ขอพระธรรมจงรักษาไว้ซึ่งเราทั้งหลาย , แล้วจงรักษาไว้ซึ่งบุคคลผู้ประพฤติซึ่งธรรมแม้ทั้งปวง

⁕ วุฑฒิง สัมปาปุเณยยามะ ธัมเม อะริยัปปะเวทิเต

' ขอเราทั้งหลายพึงถึงพร้อมซึ่งความเจริญในธรรม ที่พระอริยเจ้าประกาศไว้แล้ว

⁕ ปะสันนา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน พุทธะสาสะเน

' ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง , จงเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

⁕ สัมมา ธารัง ปะเวจฉันโต กาเล เทโว ปะวัสสะตุ

' ขอฝนทั้งหลายจงหลั่งลงตกต้องตามฤดูกาล

⁕ วุฑฒิ ภาวายะ สัตตานัง สะมิทธัง เนตุ เมทะนิง

' ขอฝนจงนำความสำเร็จมาสู่พื้นปฐพี , เพื่อความเจริญแก่สัตว์ทั้งหลาย

⁕ มาตา ปิตา จะ อัตระชัง นิจจัง รักขันติ ปุตตะกัง

' มารดา และบิดา ย่อมรักษาบุตร ที่เกิดในตนเป็นนิจ ฉันใด

⁕ เอวัง ธัมเมนะ ราชาโน ปะชัง รักขันตุ สัพพะทา

' ขอพระราชาจงปกครองประชาชน , โดยชอบธรรมในกาลทุกเมื่อฉันนั้น ตลอดกาล


⁛ ⁛ ⁛ ⁛ ⁛


-

Successful Alert !!!
Failure Alert !!!
Warning Alert !!!